วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตำนาน รถซูซูกิ SUZUKI คลาสสิคจนปัจจุบัน

ตำนาน รถซูซูกิ SUZUKI คลาสสิคจนปัจจุบัน

สัญลักษณ์ของซูซูกิคือ ตัวอักษร S ซึ่งเป็นตัวอักษรตัวแรกของชื่อ SUZUKI นั่นเอง ไม่มีความหมายอื่นใดนอกเหนือจากนี้ ต้นกำเนิดของซูซูกิคือ SUZUKI SHOKKUKU SEISAKUSHO หรือ SUZUKU LOOM WORKS โรงงานผลิตเครื่องทอผ้าซึ่งก่อตั้งขึ้นที่เมืองฮามามัตสุ ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2452 โดยนาย มิชิโอะ ซูซูกิ (MICHIO SUZUKI) บุตรชายของชาวไร่ฝ้ายผู้หันมาเอาดีในการผลิตเครื่องทอผ้า ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 กิจการของโรงงานผลิตเครื่องทอผ้าซูซูกิเติบโตอย่างรวดเร็วและในช่วงเวลาเพียงหนึ่งทศวรรษหลังจากก่อตั้ง ซูซูกิก็เปลี่ยนกิจการให้อยู่ในรูปของบริษัท มีชื่อว่า SUZUKI LOOM MANUFACTURING CO., LTD. ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 500,000 เยน และเพียงปีเดียว หลังจากนั้น ซูซูกิก็เพิ่มเงินทุนเป็น 2 เท่า และก่อสร้างโรงงานขึ้นอีก 1 โรงในเมืองฮามามัตสุนั้นเอง
ซูซูกิหันเหกิจการจากการผลิตเครื่องทอผ้าเป็นการผลิตรถยนต์ในปี 2479 เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นออกกฏหมายจำกัดการนำเข้ารถยนต์ซึ่งมีผลเป็นอย่างมากในการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ในประเทศ ซูซูกิตั้งต้นโดยการนำรถออสติน เซเวนซึ่งนำเข้าจากอังกฤษมาแยกเป็นชิ้น ๆ แล้วศึกษาอย่างละเอียด และในชั่วเวลาเพียงปีเดียว ซูซูกิก็สามารถสร้างเครื่องยนต์เครื่องแรกของบริษัทได้สำเร็จ เป็นเครื่องยนต์ 4 สูบ ความจุ 750 ซีซี ระบายความร้อนด้วยน้ำ ซูซูกิได้ออกแบบรถยนต์ขึ้นหลายแบบเพื่อใช้กับเครื่องยนต์แบบดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทันที่ซูซูกิจะผลิตรถยนต์ออกจำหน่ายในตลาด สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ระเบิดขึ้น และซูซูกิก็หันมารับใช้ชาติโดยการผลิตยุทธภัณฑ์สงคราม ในช่วงเวลาสงคราม กิจการของซูซูกิขยายตัวเป็นอย่างมากเมื่อสงครามสงบ กิจการของซูซูกิจึงมีทั้งการผลิตเครื่องทอผ้า เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องทำความร้อนด้วยไฟฟ้า รวมทั้งโรงงานผลิตเกลือจากน้ำทะเล


ประวัติรถยนต์ซูซูกิ

ขับเคลื่อนสี่ล้อ
ซูซูกิเริ่มผลิตรถยนต์มานานแล้ว จริงๆแล้วนานกว่าที่หลายคนจะคิดด้วยซ้ำไป เมื่อเก้าสิบกว่าปีที่แล้ว สมัยนั้นซูซูกิยังมีธุรกิจหลักเป็นผ้าและสิ่งทอ ประมาณปี 1937 ซูซูกิสนใจการผลิตรถยนต์ ทดลองผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก แต่เริ่มได้ไม่เท่าไรก็ต้องเลิกลาไปเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงครามโลกประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้แพ้สงคราม ธุรกิจสิ่งทอที่เคยสร้างรายได้ก็เริ่มถดถอย ขาดทุน ซูซูกิจึงหยิบเอาโครงการผลิตรถยนต์ขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่ในปี 1951
ซูซูกิพยายามครั้งที่สอง ผลิตรถจักรยานติดเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไซต์ขนาดเล็กเพื่อทดลองตลาด ขณะเดียวกันก็เริ่มศึกษาออกแบบรถยนต์ไปด้วย ก่อนที่จะเปิดตัวรถเก๋งขนาดเล็ก (microcar) ที่ใช้ชื่อว่า “ซูซูไล้ท์” (suzulight)
แม้ว่ารถซูซูกิขับเคลื่อนสี่ล้อขนาดเล็ก จะเป็นที่รู้จักดี และไปสร้างชื่อเสียงในอเมริกาภายใต้ชื่อ “ซามูไร” ช่วงระหว่างปี 1985-1986 แต่เมื่อย้อนไปดูประวัติของซูซูกิขับเคลื่อนสี่ล้อคันแรก ก่อนที่เป็นที่ชื่นชอบของพวกเราในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นตัว “ซามูไร” (Samurai) “ไซด์คิ้ก” (Sidekick) หรือ “วีทาร่า” (Vitara) มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาก นานไปจนถึงยุคทศวรรตที่ 60
1968 แอลเจซีรี่ย์ (LJ-Seiries): ซูซูกิจิมนี่ (Jimny) และซูซูกิบรูเต้ (Brute)

รถขับเคลื่อนสี่ล้อขนาดเล็กคันแรกของซูซูกิพัฒนามาจากรถกระบะเล็ก หรือเรียกว่า Hopestar ON360 ของบริษัทโฮปมอเตอร์ (Hope Motor Company) ผลิตขึ้นในปี 1965 ใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ รูปลักษณ์ของรถก็ไม่ได้หรูหราอะไร แสนจะธรรมดาด้วยซ้ำไป เบาะนั่งเป็นแบบแฮมม๊อคซีท รถ Hopestar ON360 ใช้เครื่องยนต์สองจังหวะของมิตซูบิชิ ขนาด 21 แรงม้า 360 ซีซี ระบายความร้อนด้วยอากาศ พอๆกับหน้าตาที่ไม่เคยได้เรื่องของ Hopestar ON360 ยอดขายของรถรุ่นนี้ทำตัวเลขได้ไม่สวยเท่าไร หลังจากบริษัทโฮปสตาร์นำรถเข้าสู่ตลาดได้ไม่นานก็ต้องขายลิขสิทธิ์ ตัวต้นแบบ “โฮปสตาร์ โอเอ็น360” ให้บริษัทซูซูกิ ในปี 1968 เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป
ซูซูกิเริ่มผลิต Jimny 360 หรือต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ LJ10 หรือ Brute IV เป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ที่พัฒนาโครงสร้างมาจาก “โฮปสตาร์โอเอ็น360” ซูซูกินำมาปรับเปลี่ยนโมดิฟายด์เสียใหม่ หมดทุกส่วน เครื่องยนต์เดิมที่เป็นของมิตซูบิชิโดนยกออก เครื่องยนต์ของซูซูกิถูกนำมาใช้แทน อย่างไรก็ตามการปรับโฉมของ Jimny 360 อยู่ภายใต้แนวคิดการทำรถยนต์ขนาดเล็ก ราคาประหยัด เพราะซูซูกิต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านภาษี ดังนั้น LJ10 หรือ Jimny 360 รุ่นแรก จึงถูกออกแบบให้มีสามที่นั่ง เพราะต้องแบ่งยกพื้นที่เอาเก็บยางอะไหล่ วิศวกรของซูซูกิไม่ได้ออกแบบให้ LJ10 มีที่เก็บยางอยู่ด้านนอก เพราะว่ามันทำให้รถยาวเกิน 3 เมตร หลังจากซูซูกิพัฒนา LJ10 ได้สองปี ซูซูกิก็ตั้งสายพานการผลิตในปี 1970 และแน่นอนทำให้ LJ10 หรือ Jimny 360 กลายเป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อขนาดเล็กคันแรกของญี่ปุ่น
ช่วงแรกๆ ซูซูกิยังไม่ได้ทำตลาดรถ Jimny 360 ในอเมริกา แต่มีการนำเข้า “จิมนี่ 360” ไปขายแถวๆ แคลิฟอร์เนีย เนวาด้า และอะริโซน่าในปี 1971 แต่ก็ดูเหมือนไม่ค่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจอเมริกันพันธุ์แท้สักเท่าไร คงเป็นเพราะเครื่องยนต์ที่ไม่ค่อยแรง ซูซูกิจิมนี่ 360 ใช้เครื่องยนต์ สองจังหวะ สองสูบ 25 แรงม้า 359 ซีซี ระบายความร้อนด้วยอากาศ เป็นโมเดลเดียวกับที่ญี่ปุ่น ซึ่งก็ได้รับการตอบสนองตอบที่ดีในตลาดที่ญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับรูปทรงเล็กกระทัดรัด น้ำหนัก 1800 ปอนด์ หรือประมาณ 800 กิโลกรัม แต่สำหรับคนอเมริกันแล้วต้องลุ้นกันเหนื่อยเลยที่เดียวกว่าเจ้าเจิมนี่ 360 จะทำความเร็วได้ 45 ไมล์ หรือประมาณ 72 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
ปี 1972 ซูซูกิเปิดตัว LP20 ซึ่งพัฒนามาจากรถรุ่นพี่อย่าง LP10 มีการปรับเปลี่ยนทั้งรูปแบบและเครื่องยนต์ LP20 ใช้เครื่องยนต์ 359ซีซี 32 แรงม้า ระบายความร้อนด้วยน้ำแทนที่จะเป็นระบบอากาศเดิมๆ ซูซูกิ LP20 ทำความเร็วสูงสุดได้ 47 ไมล์ต่อชั่วโมง ซูซูกิผลิตรถ ”ขับซ้าย” ออกมา เพื่อเอาใจตลาดอเมริกา ลายบนกระจังหน้าเปลี่ยนจากแนวนอนเป็นแนวตั้ง ไฟเลี้ยวจากเดิมข้างละดวง ปรับเปลี่ยนให้มีข้างละสองดวง เรียงแถวตามแนวตั้ง ดูคล้ายๆเลข “8”
ปี 1974 ซูซูกิเปิดตัว LJ50 (Jimny 550, SJ10) โดยอาศัยการเปลี่ยนมาตรฐานการกำหนดขนาดรถยนต์ในญี่ปุ่น ซูซูกิเลยได้ช่องทางขยายขนาดของ LJ50 ให้ใหญ่กว่า LJ สองรุ่นแรก ขนาดของเครื่องยนต์ก็ใหญ่ขึ้น LJ50 ใช้เครื่องยนต์สองจังหวะเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนเป็นสามสูบ 539ซีซี 33 แรงม้า ซูซูกิ LJ50 ได้ชื่อว่ามีแรงบิดสูง (torquey) เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ขนาดเดียวกัน
ซูซูกิ LJ50 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 100 ปอนด์ (45.3 กิโลกรัม) ทำความเร็วสูงสุดได้ 60 ไมล์ หรือประมาณ 96 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตามซูซูกิ LJ50 ยังแรงไม่พอ โดยเฉพาะเทียบกับมาตราฐานของอเมริกัน นอกจากขนาดของเครื่องยนต์ที่ได้รับการปรับเปลี่ยน ตัวถังรถเองก็มีการออกแบบใหม่เช่นกัน โดยเฉพาะความยาว วิศวกรออกแบบให้ซูซูกิ LJ50 มีที่เก็บยางอะไหล่ไว้ด้านนอกของประตูหลัง ทำให้รถรุ่นนี้มีสี่ที่นั่ง
เปิดตัวตาม ”ซูซูกิ แอลเจ 50” มาติดๆ คือ LJ80 หรือ SJ20 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้าย และเป็นรุ่นที่ดีที่สุดของแอลเจซีรี่ย์ ซูซูกิผลิตรถ LJ80 ขึ้นในปี 1977 ตัวรถมีน้ำหนัก 1700 ปอนด์ ตั้งใจพัฒนาให้เป็นตัวแรงเพื่อส่งออกไปขายนอกประเทศญี่ปุ่น ก่อนหน้าที่ซูซูกิจะเปิดตัว LJ80 อย่างเป็นทางการ มีกระแสข่าวลือออกมาเป็นช่วง ๆ เรื่องอาจจะมีการใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่เป็นต้น แต่ทางซูซูกิก็ออกมาปฎิเสข ปิดปากเงียบ เพราะต้องการเก็บเรื่องเครื่องยนต์ตัวใหม่ให้เป็นความลับสุดยอด เครื่องยนต์ของ LJ80 เป็นเครื่องยนต์สี่จังหวะ ความจุกระบอกสูบ 797 ซีซี มีการนำ SOHC (Single Overhead Chaft) มาใช้ ทำให้ได้แรงม้ามา 41 ตัว แถมด้วยแรงบิดจำนวนมหาศาล ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อดีขึ้นกว่าเครื่องยนต์ตัวเดิม และการเผาไหม้หมดจดกว่า LJ รุ่นก่อนหน้านี้
ด้วยเครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูง บวกกับอัตราทดของเกียร์ที่เอื้อต่อลักษณะการใช้งานหลายรูปแบบ ซูซูกิ LJ80 เป็นรถสี่คูณสี่ที่ขับสนุกทั้งบนถนนลาดยางและพื้นที่ออฟโรด ระบบช่วงล่างและแชสซีถูกตั้งให้แข็ง ซูซูกิปรับเปลี่ยนระบบการทรงตัว และการเกาะถนนด้วยการเปลี่ยนโช้คหน้า ขยายเพลาขับหน้าและหลังให้กว้างกว่าเดิมสี่นิ้ว มาด้วยกันคืออุปกรณ์ตกแต่งหรูๆ เช่น เบาะนั่งดูดีมีสไตล์ ออกแบบพวงมาลัยใหม่ เรือนไมล์วัดความเร็ว 130 กม/ชม (จากเดิมแค่ 100กม/ชม) ถังน้ำมันเพิ่มจากขนาด 26 ลิตร เป็น 40 ลิตร มีการเพิ่มไฟเบรคเพื่อความปลอดภัย รูปโฉมภายนอกของ LJ80 มีการขยายซุ้มล้อและฝาครอบล้อ ด้านบนฝากระโปรงยกสูง มีช่องระบายอากาศ คล้ายๆจมูกที่ขอบฝากระโปรงหน้า กันชนกับไฟท้ายถูกออกแบบใม่ให้เข้ากับตัวรถ ซูซูกิ LJ80 มีการปรับเปลี่ยนโฉมอีก เล็กๆ น้อย หรือเรียกว่า minor change ด้วยการขยายไฟหน้าใหญ่ให้กว่าเดิม แต่ติดในตำแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม กระจังหน้ารถก็ออกแบบใหม่ มีการนำประตูโลหะมาใช้เป็นครั้งแรก พร้อมกับการเปิดตัว LJ81 ที่คล้ายรถกระบะ เพื่อเสริมทัพ LJ80 ที่ประกอบไปด้วยตัวเปิดประทุน (convertible) และหลังคาแข็ง (Hardtop) ซูซูกิแอลเจวี่รี่ย์ถูกปลดออก จากสายพานการผลิตในปี 1983

รถซูซูกิ SUZUKI

รถมอเตอร์ไซค์คันแรกของโลก(รถโบราณ)

รถคันนี้คลาสสิคสุดๆ 55+
นาย Gottlieb Daimler
รถโบราณคันนี้มีเบาะเล็กๆนั่งได้คนเดียว  คนซ้อนท้ายรอไปก่อน รถคลาสสิคคลาสสิคคันนี้มีชื่อเรียกของมันว่า คันนี้มีชื่อว่า "Reitwagen"  เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า "riding car" หรือ รถขี่เครื่องยนต์สันดาษภายใน แบบหนึ่งสูบ สี่จังหวะ ที่เรียกว่า Otto-cycle engine  เครื่องยนต์มีความเร็วรอบ 264 ccm  เครื่องยนต์มีกำลัง 0.5 แรงม้า  ทำความเร็วสูงสุดได้ 12 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ตัวโครงรถทำจากไม้ 
รถหนัก 90 กิโลกรัม มีล้อมหน้า และหลังขนาด 1030 มิลลิเมตร

ก๊อทท์ลีบ เดมเลอร์. ก๊อทท์ลีบ เดมเลอร์ เป็นวิศวกรชาวเยอรมันผู้คิดประดิษฐ์รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์

ประวัติ รถโบราณโฟล์คเต่า


รถโบราณโฟล์คเต่า มีขึ้นเมื่อ 22 มิถุนายน 1934 เมื่อคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติเยอรมนี หรือ RDA-REICHSVERBAND DER DEUTSCHEN AUTOMOBILINDUSTRIE ได้มอบหมายให้ดร.เฟอร์ดินัน พอร์ชออกแบบรถยนต์ของประชาชน (PEOPLE’S CAR) ซึ่งในภาษาเยอรมันเรียกว่า VOLKSWAGEN นั่นเอง
โฟล์คเต่ารุ่นต้นแบบคันแรกเสร็จสิ้นการพัฒนาเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 1936 มาพร้อมระบบช่วงล่างแบบทอร์ชันบาร์ ระบบเบรกเป็นแบบกลไกก้านบังคับ ไม่ใช่ระบบไฮดรอลิกเหมือนรถยนต์ปัจจุบัน และที่เครื่องยนต์มีการติดตั้งยางแท่นเครื่อง ซี่งหลายคนมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดยางแท่นเครื่อง ตัวเครื่องยนต์เป็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ มีให้เลือกทั้งแบบ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ ที่มีกำลังสูงสุด 22.5 แรงม้า (HP)
ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 1936 รุ่นต้นแบบหรือ V3 (ซึ่งมีการผลิตออกมา 3 คัน) ถูกนำมาทดสอบด้วยการแล่นเป็นระยะทางกว่า 50,000 กิโลเมตร ก่อนมีการทดสอบต่อเนื่องภายใต้รหัสโครงการ VVW30 และหลังจากนั้นไม่นานคณะกรรมการก็เห็นชอบในเรื่องเครื่องยนต์ หลังจากถกเถียงกันอยู่นานก็มาลงตัวที่บล็อก 4 สูบนอน หรือบ็อกเซอร์ ระบายความร้อนด้วยอากาศ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพัฒนาจะมีขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่กว่าที่โฟล์คเต่า จะได้รับการผลิตเพื่อจำหน่ายสู่ตลาดต้องรอกันจนถึงเดือนธันวาคม 1945 หรือหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยในเดือนนั้นมีการผลิตออกมาเพียง 55 คันเท่านั้น
ในปี 1947 จึงมีการผลิตเวอร์ชั่นส่งออกในเดือนสิงหาคม โดยบริษัท PON BROTHERS กลายเป็นผู้แทนจำหน่ายของโฟล์คสวาเกนในเนเธอร์แลนด์และนำเข้าโฟล์คเต่าจำนวน 56 คัน เข้าไปทำตลาด จากนั้นอีก 1 ปี จึงเริ่มขยายตัวออกสู่ตลาดประเทศอื่น เช่น เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ลักเซมเบิร์ม สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 8 มกราคม 1949
รุ่นเปิดประทุนของโฟล์คเต่าคลาสสิคมีขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 1949 โดยคาร์มานน์เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะในตลาดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกา
ความจริงแล้วโครงการผลิตรุ่นเปิดประทุนของโฟล์คเต่ามีมาตั้งแต่ปี 1948 ในยุคที่มีไฮน์ริช นอร์ดฮอฟฟ์เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงงานโฟล์คสวาเกน ซึ่งเขาเป็นผู้ปรับปรุงระบบการผลิต และเป็นคนที่เอ่ยประโยคอมตะ “THE BEETLE HAS AS MANY FAULT AS A DOG HAS FLEAS” ที่แสดงให้เห็นถึงรอยรั่วของระบบการผลิต ซึ่งมีมากเหมือนกับหมัด-เห็บบนตัวสุนัข
นอร์ดฮอฟฟ์ใช้เวลานานในการคิดหาทางออกเพื่อกระตุ้นให้ยอดจำหน่ายของโฟล์คเต่ามีมากขึ้นและในปี 1948 เขาได้ว่าจ้าง JOSEPH HEBMULLER COMPANY ผลิตรุ่นต้นแบบของโฟล์คเต่าเปิดประทุนออกมา 3 คัน โดยมีข้อบังคับว่าจะต้องใช้ชิ้นส่วนของรุ่นแฮทช์แบ็ก (หรือในเอกสารของโฟล์คสวาเกนเรียกว่า SEDAN) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
JOSEPH HEBMELLER ได้รับโอกาสในการผลิตโฟล์คเต่าเปิดประทุนในเวอร์ชั่นหรูพร้อมกับตกแต่งรายละเอียดภายในอย่างสุดบรรเจิด ซึ่งสวนกับหลักการพื้นฐานของตัวรถ ขณะที่คาร์มานได้รับงานผลิตแบบยกล็อตสำหรับคนทั่วไป ผลที่ได้คือตลอด 4 ปี ที่ทำตลาด เวอร์ชั่นเปิดประทุนของ JOSEPH HEBMULLER ผลิตขายได้เพียง 696 คัน เท่านั้น
โฟล์คเต่ากลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ รถขายดีเหมือนแจกฟรี ในปี 1950 ทำยอดผลิตครบ 100,000 คัน และเพิ่มเป็น 250,000 คัน ในปี 1951 ซึ่งเป็นตัวเลขของยอดการผลิตพุ่งพรวดสวนทางกับวัตถุดิบที่มีอยู่ในตลาด จนทำให้ต้องหยุดการผลิต และลดชั่วโมงทำงานลงชั่วคราว แต่ถึงกระนั้นในปี 1952 ยอดผลิตต่อปีของโฟล์คเต่าก็เกิน 100,000 คันเป็นครั้งแรก และในปี 1953 ก็ฉลองครบ 5 แสน คัน โดยที่ในช่วงเวลานั้น โฟล์คเต่าครองส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์นั่งของเยอรมันตะวันตกใน(ตอนนั้น) ถึง 42.5%
ในปี 1955 ตัวเลขการผลิตครบ 1ล้านคัน และในปี 1967 ฉลองการผลิตครบ 10 ล้านคัน โดยมีโรงงานผลิตทั้งหมด 5 แห่งในเยอรมนี คือ เมืองฮันโนเวอร์ คาสเซล บรันสวิค เอมเดน และล่าสุดคือโวล์ฟบวร์ก

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1972 เป็นวันที่ปวงชนชาวโฟล์คสวาเกนไม่มีวันลืม เพราะยอดการผลิตของโฟล์คเต่าอยู่ที่ 15,007,034 คัน ซึ่งเท่ากับว่าสามารถแซงหน้า สถิติเดิมของ ฟอร์ด โมเดล ทีได้สำเร็จ ทำให้โฟล์คเต่ากลายเป็นรถยนต์ที่มียอดผลิตสูงสุดในโลก (ก่อนที่จะโดนรุ่นกอล์ฟแซงในปี 2002)
จุดสิ้นสุดแห่งยุคโฟล์คเต่าสำหรับตลาดยุโรปเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 เมื่อโฟล์คสวาเกนเปิดตัวรถยนต์รุ่นกอล์ฟออกมา ซึ่งทำให้ลูกค้าในยุโรปเริ่มหันไปสนใจกับผู้มาใหม่รุ่นนี้กันมากขึ้น จนทำให้โฟล์คสวาเกนตัดสินใจยุติการผลิตของโรงงานโวล์ฟบวร์ก ในปี 1974 และเอมเดนในปี 1978 โดยโฟล์คเต่าคันสุดท้ายที่ผลิตในเอมเดนเมื่อวันที่ 19 มกราคม ถูกส่งเข้าไปเก็บในพิพิธภัณฑ์เมืองโวล์ฟบวร์ก
ส่วนรุ่นเปิดประทุนคันสุดท้ายออกจากสายการผลิตของโรงงานคาร์มานน์ในออสนาบรักเมื่อวันที่ 10 มกราคม 1979 รวมแล้วรุ่นเปิดประทุนถูกผลิตออกสู่ตลาด 330,281 คัน
แม้ว่าในยุโรปจะเลิก แต่โรงงานในเม็กซิโกที่เริ่มเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี 1965 ก็ยังทำหน้าที่ผลิตต่อไปและวันที่ 15 พฤษภาคม 1981 ฉลองการผลิตครบ 20 ล้านคันที่โรงงานแห่งนี้
อย่างไรก็ตามในวันที่ 31 กรกฎาคม 2003 ถือเป็นอีกวันที่บีทเทิลมาเนียต้องจดจำเพราะว่าจะเป็นวันสุดท้ายของการผลิตโฟล์คเต่าที่โรงงานในเมือง PUEBLA เม็กซิโก ซึ่งเป็นโรงงานแห่งเดียวที่ยังผลิตอยู่
แต่ก่อนที่จะจากกันโฟล์คสวาเกนก็ผลิตเวอร์ชันพิเศษออกมาเรียกเงินในกระเป๋าลูกค้าด้วยเวอร์ชันULTIMA EDICION กับสีตัวถัง 2 แบบ คือ เบจและฟ้า ด้วยจำนวนการผลิตจำกัดเพียง 3,000 คัน เท่านั้น

รถโบราณโฟล์คเต่า